วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การไหว้



ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบปลายนิ้วตั้งขึ้น การไหว้ แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง


๑. ไหว้พระ
                   อธิบาย ยกมือที่ประณมขึ้นจรดหน้าผาก ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม

                       
๒ . การไหว้ผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูงและผู้มีพระคุณ
                   อธิบาย เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ไหว้บิดามารดา ครู อาจารย์ยกมือที่ประณมขึ้นจรดส่วนกลางของหน้า ให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายจมูกให้ปลายนิ้วจรดระหว่างคิ้ว ค้อมตัวลงอย่างอ่อนน้อมและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้


๓ . การไหว้ผู้อาวุโสทั่วไป
                   อธิบาย ไหว้ผู้ที่เคารพทั่วๆ ไปยกมือที่ประณมจรดส่วนล่างของใบหน้าให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายคาง ให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ค้อมตัวและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้พองาม


๔ . การไหว้ผู้เสมอกัน
                   อธิบาย ไหว้ผู้ที่เสมอกัน ไม่ต้องยกมือที่ประณมขึ้นจรดหน้า เพียงแต่ยกมือที่ประณมขึ้นนิดหน่อย ประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ไม่ต้องก้มศีรษะ หรือก้มศีรษะพองาม โดยไม่ต้องค้อมตัว
                   เมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ต้นไม้มงคล 9 อย่าง





 1. โป๊ยเซียน ดอกไม้มงคล ที่คนโบราณถือว่า หากปลูกไว้หน้าบ้านแล้ว จะมีโชคลาภ เชื่อกันว่า โป๊ยเซียนเป็นต้นไม้ของเทพเจ้า 8 องค์ และหากผู้ใดปลูกโป๊ยเซียนแล้วออกดอก 8 ดอก จะทำให้ผู้นั้นมีโชคลาภเข้ามา

ดอกไม้มงคล ดอกดาวเรือง

 2. ดอกดาวเรือง สีเหลืองทองอร่ามของดอกดาวเรือง เปรียบเสมือน เงินทองเต็มบ้าน ปลูกต้นดาวเรืองไว้หน้าบ้าน หรือบริเวณบ้านให้ออกดอกเยอะๆ ยิ่งเสริมให้มีโชภลาภ กิจการก้าวหน้า



 3. ต้นเงินเต็มบ้าน ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ แต่นิยมนำมาปลูกไว้ที่บ้าน เสริมความเป็นมงคล ความเจริญรุ่งเรืองให้กับชีวิต หน้าที่การงาน และมีเงินทองกองเต็มบ้านอีกด้วย



4. ว่านเศรษฐีกอบทรัพย์ ถือเป็นต้นไม้เสี่ยงทาย หากใบม้วน ดอกออกมาก เชื่อว่าดวงชะตาของผู้ปลูกจะดี เจริญก้าวหน้า แต่ในทางกลับกัน หากเหี่ยวเฉา หมายถึง ชะตาชีวิตของผู้ปลูกจะตกต่ำ อับเฉา


5. กวนอิมทอง เป็นต้นไม้ที่นิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมและศาสนา ความเชื่อโบราณ เชื่อว่า หากปลูกกวนอิมทองแล้ว ทองจะหลั่งไหลเข้าบ้าน มีเงินใช้ไม่ขาดมือ  ชีวิตจะมั่งมีศรีสุข


6. เงินไหลมา เมื่อปลูกแล้ว จะได้ผลตามชื่อ คือเงินจะไหลมาเข้าบ้าน  ทำกิจการหรือธุรกิจใดๆก็จะมีกำไร ได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ เป็นที่รักใคร่ของผู้พบเห็น ควรปลูกในวันอังคาร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้


7. ว่านรวยไม่เลิก ไม้ประดับที่สามารถปลูกในที่ร่มได้ ไว้บนโต๊ะทำงาน หรือปลูกประดับในบ้านได้ เป็นต้นไม้ที่มีความหมายตามชื่อ คือเมื่อปลูกแล้วจะรวยตลอดไป


8. กระบองเพชร คนไทยนิยมปลูกกระบองเพชรไว้ในบ้าน เพราะมีความเชื่อว่า จะทำให้กิจการก้าวหน้า หน้าที่การงานเลื่อนตำแหน่งเร็ว จะมีโชคลาภมาสู่คนในครอบครัว


9. ต้นนางกวัก บ้านใดที่ปลูกต้นนี้ จะเหมือนมีนางกวัก มากวักเงิน กวักทอง กวักสิ่งดีดี เข้าสู่บ้าน ทำให้เงินทองไหลมาเทมา โชคลาภไม่ขาดสาย ค้าขายดี มีกำไร

   


เสน่ห์อาหารไทย 4 ภาค

เสน่ห์อาหารไทย 4 ภาค 
          อาหารไทยเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน แต่แม้จะมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นจากส่วนผสมจากสมุนไพรแต่อาหารในแต่ละภูมิภาคก็มีความแตกต่างกัน



          อาหารไทยภาคเหนือ 
          อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ มีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมใช้พืชตามป่าเขาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ได้จากท้องทุ่งและลำน้ำ อาทิเช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย ไก่ หมู และเนื้อ คนเหนือไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะใช้ความหวานจากส่วนผสมที่ใช้ทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก ปลา หรือมะเขือส้ม
          กรรมวิธีการปรุงอาหาร มักจะปรุงให้สุกมากๆ อาหารประเภทผัด หรือต้ม จะปรุงจนกระทั่งผักมีความนุ่ม และมีเครื่องปรุงรสเฉพาะของภูมิภาค เช่น น้ำปู๋ ซึ่งได้จากการเอาปูนาตัวเล็กๆ เอามาโขลก แล้วนำไปเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี่ยวต่อจนข้น ถั่วเน่าแผ่น ถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ ผักและเครื่องเทศที่ใช้เป็นผักเฉพาะถิ่น
          ภาคเหนือมีเครื่องเทศของเขา ส่วนใหญ่จะไม่ใช้กะปิเขาจะใช้เป็นถั่วเน่าแทนจะมีอาหารเฉพาะหลายอย่าง เช่น ข้าวซอย น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู เป็นลักษณะเด่นของอาหารทางภาคเหนือ แต่เขาก็ยังจะมีพวกปิ้งย่างอย่างพวกหมูเขาก็จะหมักแล้วห่อใบตองปิ้งย่าง



          อาหารไทยภาคอีสาน 
          อาหารอีสาน เป็นอาหารที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน ในแต่ละมื้อจะมีอาหารปรุงง่ายๆ 2-3 จาน มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นปลา หรือเนื้อวัวเนื้อควาย อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่มีรสชาติออกไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงสำคัญที่แทบจะขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ชาวอีสานเรียก "ปลาแดก" เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกประเภท อาหารจะมีลักษณะแห้ง ข้น หรือมีน้ำขลุกขลิก ไม่นิยมใส่กะทิ รสชาติอาหารจะเข้มข้นเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
          รสชาติทางอีสานออกไปทางรสค่อนข้างจัด วัตถุดิบก็จะต่างกันมีการเอาข้าวไปคั่วให้หอมมาผสมเป็นน้ำตกหรือทำลาบ
          เขาจะใช้ปลาร้าเข้ามามีส่วนร่วมในการปรุงอาหาร ปลาร้ามีรสเค็มและมีกลิ่นหอมเฉพาะ บางทีคนอีสานทำอาหารแต่ขาดปลาร้า อาหารก็จะไม่ใช่ลักษณะของเขา อย่างส้มตำก็ต้องเป็นส้มตำปลาร้า ภาคอีสานบางทีก็คล้ายๆ กับภาคเหนือ สมมติถ้าเขามีปลาก็จะต้มใส่ใบมะขามใส่ตะไคร้
          ชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก และมีน้ำปลาร้าปรุงในอาหารแทบทุกชนิด มีศัพท์การปรุงหลายรูปแบบ เช่น ลาบ ก้อย หมก อ่อม แจ่ว จุ๊ ต้มส้ม ซุป เป็นต้น



          อาหารไทยภาคใต้ 
          อาหารหลักของคนภาคใต้คือ อาหารทะเล และกลิ่นคาวโดยธรรมชาติของปลา หรืออาหารทะเลอื่นๆ ทำให้อาหารของภาคใต้ต้องใช้เครื่องเทศโดยเฉพาะ เช่น ขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาว อาหารภาคใต้จึงมักมีสีออกเหลือง เช่น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ซึ่งมีขมิ้นเป็นส่วนผสมทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง อาหารส่วนใหญ่มีรสชาติเผ็ดจัด และนิยมใส่เครื่องเทศมาก
          อาหารส่วนใหญ่เป็นพวก กุ้ง หอย ปู ปลา จะเน้นเครื่องเทศเป็นสำคัญ อาหารภาคใต้จะไม่เน้นรสหวานจะเป็นรสจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และเน้นใส่ขมิ้นในอาหารทุกชนิด เครื่องปรุงของเขาเน้นกะปิ ส่วนที่ปรุงรสเปรี้ยวจะไม่ค่อยใช้มะนาว จะใช้เครื่องเทศของเขา



          ส่วนภาคตะวันออก 
          มีดินแดนติดทะเล คนแถบนี้นิยมบริโภคอาหารทะเล และกินผักพื้นบ้าน มีเครื่องเทศสมุนไพรเฉพาะถิ่น และมีผลไม้หลากหลาย การปรุงอาหารคาวบางอย่างจึงนิยมใส่ผลไม้ลงไปด้วย อีกทั้งผสมผสานการปรุงจากชาวจีน อาหารของภาคนี้จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร



          อาหารไทยภาคกลาง
          ภาคกลางเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชผักผลไม้นานาชนิด อาหารของภาคกลางมีที่มาทั้งจากอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันจากประเทศจีน เป็นอาหารมีการประดิษฐ์ผู้อยู่ในรั้วในวังได้คิดสร้างสรรค์อาหารให้มีความวิจิตรบรรจง อาหารภาคกลางมักจะมีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิแนมด้วยปลาเค็ม กุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง กินกับสะเดาน้ำปลาหวาน
          รสชาติของอาหารไม่เน้นรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ จะมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร นิยมใช้เครื่องเทศแต่งกลิ่นรส และใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร
          ยังมี "อาหารชาววัง" ที่มีต้นกำเนิดจากอาหารในราชสำนัก ที่เน้นตกแต่งประณีตและปรุงให้ได้ครบรส ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด นิยมประดิษฐ์อาหารให้สวยงามเลียนแบบรูปทรงต่างๆ ในธรรมชาติ

  

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เมนูอาหารไทย


เมนูอาหารไทย


                 ต้มยำกุ้งน้ำข้น "Tom yum Kung" (Thai sour and spicy shrimp soup) รสเด็ด แซ่บเว่อร์ อาหารยอดนิยมของคนไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นอาหารที่ชาวต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทยแล้วต้องสั่งทาน




 ข้าวผัดน้ำพริกกะปิ (Fried Rice With Shrimp Paste)


              หมูสะเต๊ (Pork Satay) เป็นเมนูอาหารภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมไปทั่วทุกภาค ด้วยเป็นอาหารที่ทานง่าย มีความหอมอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้วยเครื่องเทศมากมาย


เมนูอาหารภาคกลาง แกงเขียวหวานไก่
 แกงเขียวหวานไก่


           อาหารไทย เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทานอาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ




ประเพณีไทย


ประเพณีไทย

อิทธิพลจากต่างชาติต่อไทยนั้นมีมานาน เห็นได้จากหลักฐาน โบราณวัตถุบ้านเชียง  ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยได้รับอิทธิพลจากจีนและอินเดีย ส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ ผสมรวมศาสนา พราหมณ์กับฮินดู ปนด้วยความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ เช่น

อิทธิพลจากศาสนาพุทธ การทำบุณตักบาตร ความเชื่อเรื่อง บาปกรรม จารีตต่างๆ
อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู การตั้งศาล พิธีแช่น้ำ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
อิทธิพลจากความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องผีสาง การทำนายฝัน ดูดวง
ประเพณีสำคัญของไทย เช่น

 สงกรานต์ เดิมเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบไทย ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี กิจกรรมที่ชาวไทยนิยมทำในวันนี้คือ ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และรดน้ำให้กัน เป็นประเพณีที่ชาวต่างชาติรู้จักรกันมากที่สุด



ลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ้งหากเทียบการนับเดือนในปัจจุบัน จะตรงกับปลายเดือนพฤจิกายน ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ริเริ่มโดยนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ เหตผลที่ประดิษฐ์กระทงก็เพื่อขอขมาพระแม่คงคา ที่เราอาศัยน้ำดื่มกินและใช้ประโขชน์สารพัด เมื่อลอยกระทง เราจะจุดธูปเทียนที่ปักบนกระทง อธิฐานขอพรขอขมาพระแม่คงคาแล้วลอยลงแม่น้ำลำคอง